Custom Search By Google

Custom Search

วันเสาร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2552

Gemology ความรู้เรื่องอัญมณี

Click at picture >> คลิ๊กที่รูปเพื่อดูภาพขยาย





























อัญมณีแท้ จะเกิดขึ้นจากธรรมชาติ จะเป็นชนิดใดขึ้นอยู่กับแร่ธาตุภายใน โดยอาศัยความร้อน ความเย็น แรงบีบอัดกดดัน และเวลานับล้านๆปี เป็นตัวกำหนด


อัญมณี 21 กลุ่มข้างล่างนี้ เป็นอัญมณีที่มีราคาสูง เนื่องจากมีคุณสมบัติ 3 ประการของแร่ โดยเรียงตามตัวอักษรภาษาอังกฤษของกลุ่มแร่ ดังต่อไปนี้


1.อะพาไทต์ (Apatite)

มีความแข็ง (Hardness) = 5 โมฮส์ (Mohs)
ส่วนประกอบทางเคมี (Chemical Formula) = Ca5(PO4)3(OH,F,Cl), Calcium (Fluoro, Chloro, Hydroxyl)
Phosphateดัชนีหักเหของแสง (Refractive Index) = 1.63 -1.64ความถ่วงจำเพาะ
(Specific gravity) = 3.15-3.20สีโดยปรกติจะมีสีเขียว แต่ก็สามารถพบสีเหลือง, ฟ้า, น้ำตาลแดง, แดงม่วงและ แคทอาย อะพาไทต์ได้ (Green but also yellow, blue, reddish brown, purple and
Cat’s eye apatite)


2.เบริล (Beryl)

พบในหิน เพกมาร์ไทต์ (Pegmatite) และหินแกรนิต
มีความแข็ง (Hardness) = 7.5 -8 โมฮส์ (Mohs)
ส่วนประกอบทางเคมี (Chemical Formula) = Be3Al2(SiO3)6, Beryllium Aluminum Silicate
ดัชนีหักเหของแสง (Refractive Index) = 1.57 - 1.60
ความถ่วงจำเพาะ (Specific gravity) = 2.63 -2.91

อัญมณีที่อยู่ในกลุ่มคือ

2.1.เอเมรัลด์ (Emerald) หรือ มรกต มีสีเขียวจัด หรือ เขียวอมน้ำเงิน และจะมีรอยมลทินร้าวตามธรรมชาติอยู่ภายใน

2.2.อะความารีน (Aquamarine) มีสีฟ้าอ่อนอมเขียวจนถึงเกือบขาวใส

2.3.มอร์แกไนต์ (Morganite) มีสีชมพู, ชมพูม่วง หรือ ม่วงแดง

2.4.ฮีลิโอดอร์ (Heliodore) มีสีเหลืองทอง ถึงเหลืองเขียว

2.5.เรด เบริล (Red beryl) มีสีแดงเหมือนลูกราสเบอร์รี่ (Raspberry)

2.6.โกสชีไนต์ (Goshenite) ไม่มีสี, เขียวอมเหลือง, เหลืองเขียว, น้ำตาลอ่อน


3.คริโซเบริล (Chrysoberyl)

พบในหินแกรนิต, เพกมาไทต์ (Pegmatite),ไมกาชีส
มีความแข็ง (Hardness) = 8.5 โมฮส์ (Mohs)
ส่วนประกอบทางเคมี (Chemical Formula) = BeAl2O4, Beryllium Aluminum Oxideดัชนีหักเหของแสง (Refractive Index) = 1.745 - 1.757
ความถ่วงจำเพาะ (Specific gravity) = 3.68-3.78

อัญมณีที่อยู่ในกลุ่มคือ

3.1.คริโซเบริล (Chrysoberyl) โปร่งใส มีสีเหลืองอมเขียว ถึง เขียวอมเหลืองและน้ำตาลอ่อน

3.2.อเล็กซานไดรต์ (Alexandrite) เปลี่ยนสีได้ขึ้นอยู่กับแสงคือใต้แสงปรกติจะเป็นสีเขียว ถ้าอยู่ใต้แสงจากหลอดมีใส้ (incandescence light) จะเป็นสีแดงม่วง

3.3.แคทอาย คริโซเบริล (Cat’s eye Chrysoberyl) หรือไพฑูรย์โดยปรกติจะมีสีค่อนข้างเหลือง หรือ ค่อนข้างเขียว และมีขา 1 เส้น


4.คอร์เดียไรต์ (Cordierite)

บางครั้งเรียกว่า ไดโครไอต์ (Dichroite) เนื่องจากแสดงสีแฝดเด่นชัด เห็นได้ด้วยตาเปล่า โดยสีที่ดีที่สุดเป็นสีน้ำเงินเมื่อมองในแนวแกนผลึก

ตามความยาวผลึก มีการเรียกชื่อที่ผิดว่า แซปไฟร์น้ำ (Water Sapphire) เพราะมีสีเหมือน Blue Sapphire มาก ลักษณะเด่นของ ไอโอไลต์ (Iolite) คือ สีแฝดที่เด่นชัดมาก

เห็นได้ด้วยตาเปล่า มีสีเหมือน Amethyst, Sapphire, Spinel และ Tanzanite
แยกได้ชัดเจนโดยค่าดัชนีหักเหที่แตกต่างกัน ส่วน Tanzanite แสดงสีแฝด 3 สี
(trichroism) และมีค่าความถ่วงจำเพาะต่างกันมาก
มีความแข็ง (Hardness) = 7-7.5 โมฮส์ (Mohs)
ส่วนประกอบทางเคมี (Chemical Formula) = Mg2Al4Si5O18, Magnesium Aluminum Silicate
ดัชนีหักเหของแสง (Refractive Index) = 1.527-1.578
ความถ่วงจำเพาะ (Specific gravity) = 2.3
สี ส่วนใหญ่มีสีน้ำเงินถึงม่วง สีอ่อนถึงสีเข้ม อาจพบสีขาวใส ขาวอมเหลืองเทา เขียว และน้ำตาลอัญมณีที่อยู่ในกลุ่ม คือ ไอโอไลต์ (Iolite)


5.คอรันดัม (Corundum)

พบในหินอัคนี, หินแปร
มีความแข็ง (Hardness) = 9โมฮส์ (Mohs)
ส่วนประกอบทางเคมี (Chemical Formula) = Al2O3, Aluminum Oxide
ดัชนีหักเหของแสง (Refractive Index) = 1.76 - 1.78
ความถ่วงจำเพาะ (Specific gravity) = 3.96-4.05

อัญมณีที่อยู่ในกลุ่มคือ

5.1.รูบี้ (Ruby) หรือ ทับทิม หรือ พลอยแดง มีสีแดงสด, แดงอมชมพู(ทับทิมพม่า) , แดงอมม่วง(ทับทิมสยาม)

5.2.แซฟไฟร์ (Sapphire) มีหลายสีที่ไม่ใช่สีแดง

5.2.1.บลู แซฟไฟร์ (Blue Sapphire) หรือ ไพลิน สีน้ำเงิน ทั้งเข้มและอ่อน
5.2.2.ไวท์ แซฟไฟร์ (White Sapphire) ใสไม่มีสี
5.2.3.พัดพารัดชา แซฟไฟร์ (Padparadscha Sapphire) สีส้มเหลืองอมชมพู
5.2.4.พิงค์ แซฟไฟร์ (Pink Sapphire) สีชมพู
5.2.5.เพอเพิล แซฟไฟร์ (Purple Sapphire) สีม่วงแดง
5.2.6.เยลโล แซฟไฟร์ (Yellow Sapphire) หรือ บุษราคัม สีเหลืองอมส้ม
5.2.7.กรีน แซฟไฟร์ (Green Sapphire) หรือ เขียวส่อง สีเขียวเข้มอมน้ำเงิน
5.2.8.ออเรนจ์ แซฟไฟร์ (Orange Sapphire) สีส้มแดง
5.2.9.คัลเลอร์เชนจ์ แซฟไฟร์(Colour Change Sapphire) น้ำเงินไปเป็นม่วง
5.2.10.คัลเลอร์เลซ แซฟไฟร์(Colourless Sapphire) ขาวใส
5.2.11.สตาร์ แซฟไฟร์(Star Sapphire) พลอยมีขาสาแหรก มีหลายสี สีดำ, แดง, น้ำเงิน, เหลืองทอง


6.ไดมันด (Diamond) หรือ เพชร

มีความแข็ง (Hardness) = โมฮส์ 10 (Mohs)
ส่วนประกอบทางเคมี (Chemical Formula) = C, Elemental Carbon
ดัชนีหักเหของแสง (Refractive Index) = 2.417
ความถ่วงจำเพาะ (Specific gravity) = 3.52
มีสีตั้งแต่ ขาวใสไม่มีสี ไปจนถึงเหลืองอ่อน โดยจะมีค่าที่กำหนดไว้ตั้งแต่ D คือขาว ไปจนถึง Z คือเหลือง


7.เฟลด์สปาร์ (Feldspar)

แร่ฟันม้า เป็นแร่ประกอบหินที่พบมากที่สุด พบถึง 50-60 % ของหินบนเปลือกโลก จัดเป็นแร่ตระกูล(group) ใหญ่ที่มีส่วนประกอบสุดท้าย
หลากหลายมาก จัดเป็นกลุ่มได้ 2 กลุ่มตามชนิดของส่วน ประกอบ หลักคือ

7.1.อัลคาไล เฟลด์สปาร์ (Alkali Feldspar) หรือ โพแทสเซียมเฟลด์สปาร์ (Potassium Feldspar)
มีความแข็ง (Hardness) = 6-6.5โมฮส์ (Mohs)
ส่วนประกอบทางเคมี (Chemical Formula) = KAlSi3O8
ดัชนีหักเหของแสง (Refractive Index) = 1.52-1.54
ความถ่วงจำเพาะ (Specific gravity) = 2.55-2.76

อัญมณีที่อยู่ในกลุ่มคือ

7.1.1.แอมะซอนไนต์ (Amazonite)
เป็น ไมโครไคลน์ (Microkline) มีสีเขียวอ่อนปนเหลืองหรือเขียวอมฟ้า มักแสดงแนวเส้นสีขาวเล็กๆ ตัดกันเป็นตาข่าย และมีการเหลือบแสงเล็กน้อย

7.1.2.มูนสโตน (Moonstone)
หรือ มุกดาหารไม่มีสี มีลักษณะเหลือบแสงสีขาวไปจนถึงเหลืองอ่อนหรือฟ้าอมเทา เคลื่อนไปมาบนผิวอัญมณีที่เจียระไนหลังเบี้ย เกิดจากการรบกวนกันของแสงที่สะท้อนจากโครงสร้างภายในที่มี ออร์โทเคลส (Orthoclase) มีสีเหลืองอ่อน และ แอลไบต์ (albite) เป็นชั้นบางมากสลับกันอยู่

7.2.แพลจิโอเคลส เฟลด์สปาร์ (Plagioclase Feldspar)
มีความแข็ง (Hardness) = 6-6.5โมฮส์ (Mohs)
ส่วนประกอบทางเคมี (Chemical Formula) = NaAlSi3O8 – CaAlSi3O8
ดัชนีหักเหของแสง (Refractive Index) = 1.52-1.54
ความถ่วงจำเพาะ (Specific gravity) = 2.55-2.76

อัญมณีที่อยู่ในกลุ่มคือ

7.2.1.ลาบราดอไรต์ (Labradorite)
มีพื้นสีเทาถึงเกือบดำ แสดงลักษณะเหลือบแสงเป็นสีน้ำเงิน เหลือง เขียว อาจเห็นสีแดงบ้าง แต่น้อยมาก

7.2.2.ซันสโตน (Sunstone)
หรือ หินพระอาทิตย์ ชนิดเนื้อใสมีสีเหลืองอ่อน ส้มหรือแดงในโทนต่างๆ เกิดจากมีมลทินของทองแดงเป็นผงขนาดเล็กอยู่ภายใน

7.2.3.อะเวนจูรีน เฟลด์สปาร์ (Aventurine Feldspar) เหมือนหินพระอาทิตย์ (Sunstone) แต่มลทินมีขนาดใหญ่จนมองเห็นด้วยตาเปล่า แสดงประกายระยิบระยับเมื่อโดนแสง


8.การ์เนต (Garnet)

โกเมน เป็นแร่ Silicate ตระกูลใหญ่ มีความหลากหลายของชนิดอัญมณีในกลุ่มมาก มีหลายสี ยกเว้นสีน้ำเงิน
ส่วนประกอบทางเคมีทั่วไป (Chemical Formula) = A3B2(SiO4)3โดยที่ A แทนธาตุที่มีประจุ +2 และ B แทนธาตุที่มีประจุ +3

แบ่งแยกได้เป็น 2 ชุด (Series) คือ ไพรัลซไพท์ (Pyralspite) และ ยูแกรนไดท์ (Ugrandite)

8.1.ชุด ไพรัลซไพท์ (Pyralspite Series) แทน B ด้วย Al
ในส่วนประกอบทางเคมีทั่วไปอัญมณีที่อยู่ในชุดนี้ คือ

8.1.1.ไพโรป (Pyrope)
มีสีส้มอมแดง, แดงมืด, แดงอมม่วง
ส่วนประกอบทางเคมี (Chemical Formula) = Mg3Al2(SiO4)3, Magnesium Aluminum Silicate
มีความแข็ง (Hardness) = 7-7.5 โมฮส์ (Mohs)
ดัชนีหักเหของแสง (Refractive Index) = 1.740 (+0.002 ถึง - 0.026)
ความถ่วงจำเพาะ (Specific Gravity) = 3.78 (+0.09 ถึง - 0.16)

8.1.2.โรโดไลต์ (Rhodolite)
สีแดงอมม่วง, ม่วงอมแดง
ส่วนประกอบทางเคมี (Chemical Formula) = (Mg,Fe)3Al2(SiO4)3, Magnesium, Iron Aluminum Silicate
มีความแข็ง (Hardness) = 7-7.5 โมฮส์ (Mohs)
ดัชนีหักเหของแสง (Refractive Index) = 1.760 (+0.010 ถึง - 0.020))
ความถ่วงจำเพาะ (Specific Gravity) = 3.84 (+ 0.10)

8.1.3.อัมมานดีน (Almandine)
มีสีส้มอมแดงมืดจนถึงแดงอมน้ำตาล และแดงม่วง
ส่วนประกอบทางเคมี (Chemical Formula) = Fe3Al2(SiO4)3, Iron Aluminum Silicate
มีความแข็ง (Hardness) = 7-7.5 โมฮส์ (Mohs)
ดัชนีหักเหของแสง (Refractive Index) = 1.790 (+ 0.030)
ความถ่วงจำเพาะ (Specific Gravity) = 4.05 (+0.25 ถึง - 0.12)

8.1.4.สเปสซาร์ไทต์ (Spessartite)
มีสีแดงคล้ำออกส้ม
ส่วนประกอบทางเคมี (Chemical Formula) = Mn3Al2(SiO4)3, Manganese Aluminum Silicate
มีความแข็ง (Hardness) = 7-7.5 โมฮส์ (Mohs)
ดัชนีหักเหของแสง (Refractive Index) = 1.810 (+ 0.004 ถึง - 0.020)
ความถ่วงจำเพาะ (Specific Gravity) = 4.15 (+ 0.005)

8.1.5.มาลาเอีย (Malaia)
มีสีส้มอมแดง, ส้มอมเหลือง คล้ายกับ สเปสซาร์ไทต์ (Spessartite) และ เฮสโซไนท์ (Hessonite)
ส่วนประกอบทางเคมี (Chemical Formula) = (Mg,Mn)3Al2(SiO4)3, Magnesium, Manganese Aluminum Silicate
มีความแข็ง (Hardness) = 7-7.5 โมฮส์ (Mohs)
ดัชนีหักเหของแสง (Refractive Index) = 1.760 (+ 0.020 ถึง - 0.018)
ความถ่วงจำเพาะ (Specific Gravity) = 3.81 (+ 0.04 ถึง - 0.03)

8.2.ชุด ยูแกรนไดท์ (Ugrandite Series) แทน A ด้วย Ca
ในส่วนประกอบทางเคมีทั่วไปอัญมณีที่อยู่ในชุดนี้ คือ

8.2.1.กรอสซูลาไรต์ (Grossularite)
ส่วนประกอบทางเคมี (Chemical Formula) = Ca3Al2(SiO4)3, Calcium Aluminum Silicate
มีความแข็ง (Hardness) = 7 โมฮส์ (Mohs)
ดัชนีหักเหของแสง (Refractive Index) = 1.730 (+0.010 ถึง - 0.050)
ความถ่วงจำเพาะ (Specific Gravity) = 3.57 (+ 0.08 ถึง - 0.32)

ตัวอย่างอัญมณีที่อยู่ในแร่ชนิดนี้ คือ

8.2.1.1.ซาร์โวไรท์ (Tsavorite)
มีตั้งแต่สีเขียวสดจนถึงสีเขียวอมเหลือง เหมือนมรกต แต่สะอาดกว่า

8.2.1.2.เฮสโซไนท์ (Hessonite)
มีสีเหลืองอมส้มจนถึงสีส้มอมแดง โทนสีตั้งแต่ปานกลางจนถึงเข้ม

8.2.2.แอนดราไดต์ (Andradite)
มีสีเหลือง ถึง เขียว น้ำตาล และดำ
ส่วนประกอบทางเคมี (Chemical Formula) = Ca3Fe2(SiO4)3, Calcium iron silicate
มีความแข็ง (Hardness) = 6.5-7 โมฮส์ (Mohs)
ดัชนีหักเหของแสง (Refractive Index) = 1.888 (+0.007 ถึง - 0.003)
ความถ่วงจำเพาะ (Specific Gravity) = 3.84 (+ 0.03 ถึง - 0.03)

ตัวอย่างอัญมณีที่อยู่ในแร่ชนิดนี้ คือ

8.2.2.1.ดีมานทอยด์(Demantoid)
เป็นอัญมณีมี สีเขียว ถึงเขียวอมเหลือง8.2.3.อูวาโรไวต์ (Uvarovite) สีเขียว ประกายดี ไม่ค่อยพบในตลาดอัญมณี เนื่องจากมีขนาดเล็ก
ส่วนประกอบทางเคมี (Chemical Formula) = Ca3Cr2(SiO4)3, Calcium Chromium Silicate
มีความแข็ง (Hardness) = 6.5-7 โมฮส์ (Mohs)
ดัชนีหักเหของแสง (Refractive Index) = 1.740 (+0.002 ถึง - 0.026)
ความถ่วงจำเพาะ (Specific Gravity) = 3.78 (+0.09 ถึง - 0.16)

9.เจด (Jade)

หยก เป็นอัญมณีที่แตกต่างจากอัญมณีชนิดอื่น เนื่องจากประกอบด้วยผลึกแร่ขนาดเล็กจำนวนมากเกาะเกี่ยวประสานเป็นเนื้อเดียวกัน ทำให้หยกมีความเหนียวมาก แตกหักยาก นำไปแกะสลักเป็นลวดลายละเอียดอ่อนช้อยได้ ขณะที่อัญมณีอื่นเป็นส่วนของผลึกแร่ผลึกเดี่ยว หรือหลายผลึกในกรณีที่เป็นผลึกแฝด

หยก แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด ตามชนิดของแร่ที่เป็นส่วนประกอบสำคัญ คือ

9.1.หยกเจไดต์ (Jadeite Jade) :
ประกอบด้วยแร่ Jade อยู่ในกลุ่ม Pyroxene เป็นแร่ NaAl(Si2O6) มีหลายสี ได้แก่ ขาว เขียว เหลือง ส้มอมแดง น้ำตาล เทา ดำและ ม่วงอ่อน มิใช่เฉพาะสีเขียวตามที่เคยเข้าใจกัน แต่สีเขียวเป็นสีที่พบมากและเป็นที่นิยมมากกว่าสี
อื่นมีความแข็ง (Hardness) = 6.5 โมฮส์ (Mohs)
ส่วนประกอบทางเคมี (Chemical Formula) = Na(Al, Fe)Si2O6, Sodium Aluminum Iron Silicate.
ดัชนีหักเหของแสง (Refractive Index) = 1.64 - 1.667
ความถ่วงจำเพาะ (Specific gravity) = 3.25-3.35

9.2.หยกเนไฟรต์ (Nephrite Jade) :
เป็นแร่กลุ่ม Amphibole ในชุดแร่ Actinolite – Tremolite
มีสีเขียวอ่อน ถึงเขียวเข้ม เหลือง น้ำตาล เทา ดำ และขาว สี มักไม่สม่ำเสมอ
มีความแข็ง (Hardness) = 5.5-6 โมฮส์ (Mohs)
ส่วนประกอบทางเคมี (Chemical Formula) = Ca2(Mg, Fe)5Si8O22(OH)2 , Calcium Magnesium Iron Silicate Hydroxide
ดัชนีหักเหของแสง (Refractive Index) = 1.600 - 1.641
ความถ่วงจำเพาะ (Specific gravity) = 2.9-3.3


10.ลาพีส ลาซูลี่(Lapis lazuli)

เป็นหินสีน้ำเงิน ที่ประกอบด้วยแร่หลายชนิด ส่วนใหญ่เป็นแร่ลาซูไรต์ (lazurite) ซึ่งเป็นตัวให้สีน้ำเงินสด แร่อื่น ได้แก่ Hauyne, Nosean และ Sodalite แร่อื่นที่พบอาจมีแคลไซต์ (calcite) มีสีขาว และไพไรต์ (pyrite) มีสีทอง
มีความแข็ง (Hardness) = 5-5.5โมฮส์ (Mohs)
ส่วนประกอบทางเคมี (Chemical Formula) = (Na,Ca)8(Al,Si)(SO4)3S,Cl
ดัชนีหักเหของแสง (Refractive Index) = 1.5-1.61
ความถ่วงจำเพาะ (Specific gravity) = 2.7-2.9


11.โอลิวีน (Olivine)

มีความแข็ง (Hardness) = 6.5-7โมฮส์ (Mohs)
ส่วนประกอบทางเคมี (Chemical Formula) = (Mg, Fe)2SiO4, Magnesium Iron Silicate
ดัชนีหักเหของแสง (Refractive Index) = 1.630 - 1.695
ความถ่วงจำเพาะ (Specific gravity) = 3.22-3.45
อัญมณีที่อยู่ในกลุ่มคือ เพริดอต (Peridot) มีสีเขียวอมเหลือง, เขียวอมน้ำตาล


12.โอปอล (Opal)

จัดเป็นแร่อสัณฐาน มีทั้งแบบขุ่นและใส มีทั้งเล่นสีหลายสีเหมือนรุ้งและไม่เล่นสี
มีความแข็ง (Hardness) = 5.5-6โมฮส์ (Mohs)
ส่วนประกอบทางเคมี (Chemical Formula) = SiO2 - nH2O; Hydrated Silicon Dioxide
ดัชนีหักเหของแสง (Refractive Index) = 1.43-1.47
ความถ่วงจำเพาะ (Specific gravity) = 1.98-2.25

ตัวอย่างอัญมณี คือ

12.1.ไวท์ โอปอล (White Opal) มีพื้นสีขาว แสดงการเล่นสี โปร่งแสงถึงกึ่งโปร่งแสง

12.2.แบล็ค โอปอล (Black Opal) มีพื้นสีดำ เทาดำ แสดงการเล่นสี โปร่งแสง ถึงกึ่งเกือบทึบแสง

12.3.วอเทอร์ โอปอล (Water Opal) หรือ เจลลี่ โอปอล (Jelly Opal) ใสไม่มีสี ไม่แสดงการเล่นสี หรือแสดงเล็กน้อย โปร่งใสถึงกึ่งโปร่งแสง

12.4.ไฟร์ โอปอล (Fire Opal) มีสีพื้นเป็นสีเหลือง ส้ม แดง หรือน้ำตาล อาจแสดงการเล่นสีหรือไม่แสดงการเล่นสีโปร่งใสถึงกึ่งโปร่งแสง ถ้ามีพื้นเป็นสีแดงจะเรียกว่า เชอรี่ โอปอล (Cherry Opal)

12.5.ฮาลิควิน โอปอล (Harlequin Opal) หรือ โมเสก โอปอล (Mosaic Opal) การเล่นสีมีลักษณะเป็นหย่อมสีที่มีเหลี่ยมมุมอยู่ต่อกันเป็นแผ่น มีขนาดเท่าๆกัน รอยต่อระหว่างสีชัดเจน เป็นรูปแบบการเล่นสีที่มีค่าที่สุด

12.6.คริสตัลโอปอล (Crystal Opal) มีพื้นใส แสดงการเล่นสีเด่นชัดโปร่งแสงถึงกึ่งโปร่งใส

12.7.พินไฟร์ โอปอล (Pinfire Opal) การเล่นสีประกอบด้วยจุดสีเล็กๆ อัดตัวกันแน่น

12.8.คอนทราลักซ์ โอปอล (Contra-luz Opal) โปร่งใส แสดงการเล่นสีเด่นชัดทั้งในแสงส่องผ่านและแสงสะท้อน


13.เพิลร์ (Pearl)

มุก มีส่วนประกอบ เป็นสารพวก CaCo3 ประมาณ 80% ส่วนประกอบที่เหลือเป็นสารพวกคอนไคโอลิน (Conchiolin) และน้ำ
มีความแข็ง (Hardness) = 2.5-4.5 โมฮส์ (Mohs)
ส่วนประกอบทางเคมี (Chemical Formula) = (Mg, Fe)2SiO4, Magnesium Iron Silicate
ดัชนีหักเหของแสง (Refractive Index) = 1.530-1.685
ความถ่วงจำเพาะ (Specific gravity)
ไข่มุกน้ำเค็มมีความถ่วงจำเพาะ (Sea Water Pearl) = 2.61-2.85
ไข่มุกน้ำจืดมีความถ่วงจำเพาะ (Fresh Water Pearl) = 2.66-2.78


14.ควอรตซ์ (Quartz)

เป็นแร่ที่มีความหลากหลายในแง่ของการเกิดและชนิดมากที่สุด พบทั้งในหินอัคนี หินตะกอน และหินแปร การที่มีความแข็งเท่ากับ 7 ไม่มีแนวแตกเรียบ และมีเสถียรภาพทางเคมี ไม่ทำปฏิกิริยากับสารเคมีทั่วไป จึงเป็นแร่ที่ทนทานต่อการผุกร่อน และทนต่อการทำลายทางเคมีมาก ทำให้ควอรตซ์ยังคงสภาพอยู่ได้
ในรูปของกรวดทรายตามตะกอนทางน้ำและชายทะเล ควอรตซ์ ที่เป็นอัญมณี แบ่งได้ 2 กลุ่ม คือ

กลุ่มที่มีผลึกหยาบ คือ โคซลิคริสตัลไลน์ (Coarsely Crystalline)
กลุ่มที่มีผลึกละเอียด คือ คริปโตคริสตัลไลน์ (Crypto crystalline)

ทั้ง 2 กลุ่มมีส่วนประกอบทางเคมีและโครงสร้างเหมือนกัน ต่างกันที่การเกิด ขนาดผลึก มลทินที่ทำให้เกิดสี และรูปแบบของสี (pattern) เท่านั้น

14.1.กลุ่มที่มีผลึกหยาบ โคซลิ คริสตัลไลน์ (Coarsely Crystalline)
มีความแข็ง (Hardness) = 6.5-7 โมฮส์ (Mohs)
ส่วนประกอบทางเคมี (Chemical Formula) = SiO2 , Silicon dioxide
ดัชนีหักเหของแสง (Refractive Index) = 1.54-1.55
ความถ่วงจำเพาะ (Specific gravity) = 2.65

อัญมณีที่อยู่ในกลุ่มคือ

14.1.1.ร็อค คริสทัล (Rock Crystal)

หรือ หินเขี้ยวหนุมาน หรือ แก้วโป่งขาม เป็นพลอยโปร่งแสงไม่มีสี ไม่นิยมนำมาทำเป็นอัญมณี ยกเว้นชนิดที่เรียกว่าไอริส ควอรตซ์ (iris Quartz) ซึ่งแสดงเหลือบแสงรุ้ง อิริเดสเซนส (Iridescence)

14.1.2.อะมิทิสต์ (Amethyst) หรือ พลอยสีดอกตะแบก หรือ พลอยจำปาสัก เป็นพลอยโปร่งใส มีสีม่วง ม่วงอมน้ำเงิน และม่วงอมแดง การเผาอะมิทิสต์ จะทำให้ได้ซิทรินและควอรตซ์สีเขียว สีเกิดจากจุดศูนย์กลางสี ร่วมกับธาตุ Fe

14.1.3.ซิทริน (Citrine) เป็นพลอยโปร่งใสสีเหลือง ส้ม และ ส้มอมน้ำตาล สีเกิดจากธาตุ Fe คำว่า ซิทริน เป็นคำในภาษา ฝรั่งเศส แปลว่า มะนาว ซิทรินที่มีในท้องตลาดส่วนใหญ่ได้มาจากการเผาอะมิทิสต์

14.1.4.อะมิทริน (Ametrine) เป็นพลอยโปร่งใส มี 2 สี ในเม็ดเดียวกัน ระหว่างสีม่วงของอะมิทิสต์และสีส้มของซิทริน เนื่องจากเป็นผลึกแฝดที่แต่ละผลึกมีสีต่างกัน

14.1.5.สโมคกี้ ควอรตซ์ (Smoky Quartz)
เป็นพลอยโปร่งใสถึงโปร่งแสง มีสีน้ำตาลอ่อนถึงน้ำตาลเข้ม เรียกอีกชื่อว่า แครนกอร์ม(Cairngorm) การเผาสโมคกี้ควอรตซ์จะทำให้สีจางลง และการฉายรังสีแก่ ร็อคคริสตัลจะทำให้ได้ สโมคกี้ควอรตซ์
สีเกิดจากจุดศูนย์กลางสี ร่วมกับมลทินของธาตุ Al

14.1.6.โรส ควอรตซ์ (Rose Quartz) เป็นพลอยกึ่งโปร่งใสถึงโปร่งแสง มีสีชมพู การฉายรังสี(Irradiation) จะทำให้ควอรตซ์สีชมพูเข้มขึ้น สีเกิดจากมลทินของธาตุ Ti ชนิดที่มีมลทินแร่รูไทล์ (Rutile) เรียงตัว 3 ทิศทาง ทำให้เกิด Star Rose Quart

14.1.7.กรีน ควอรตซ์ (Green Quartz) หรือ พลาซีโอไลท์ (Praziolite) มีสีเขียวอมเหลือง ได้จากการเผาอะมิทิสต์

14.1.8.มิลค์กี้ควอรตซ์ (Milky Quartz) เป็นพลอยโปร่งแสงถึงทึบแสง มีสีขาวขุ่นเหมือนน้ำนม ความขุ่นเกิดจากมลทินของก๊าซและของเหลวขนาดเล็ก

14.1.9.รูทิเลทเทด ควอรตซ์ (Rutilated Quartz) หรือ ไหมทอง เป็นพลอยโปร่งใสไม่มีสี มีตำหนิเส้นเข็มสีทองของแร่รูไทล์อยู่ภายใน ถ้าตำหนิภายในเส้นเข็มสีเขียวของ แร่ทัวร์มาลีน จะเรียก ทัวร์มาลิเนดควอรตซ์และทัวร์มาลิเนทเทดควอรตซ์ อาจเรียกอีกชื่อว่า ซาจีไนติควอรตซ์(Sagennitic quartz)

14.1.10.แคทส์อาย ควอรตซ์ (Cat’s Eye Quartz) หรือ ควอรตซ์ตาแมวเป็นพลอยโปร่งแสงถึงกึ่งโปร่งแสง มีหลายสีคือ น้ำตาลอมเทา, เหลืองอมเขียว, ดำ และ สีเหลืองน้ำผึ้งซึ่งดีที่สุด ตำหนิเด่น คือ เส้นเข็มเรียงตัวขนานกันไม่เป็นคลื่น ซึ่งเป็นลักษณะที่ต่างจากพลอยตาเสือ (Tiger’s eye Quartz)

14.1.11.ไทเกอร์อาย (Tiger’s Eye) หรือ พลอยตาเสือ หรือ คดไม้สัก เป็นพลอยโปร่งแสงถึงทึบแสงมีสีเหลืองอมน้ำตาลและน้ำตาล มีปรากฏการณ์ตาแมวเกิดเนื่องจาก ควิรตซ์เข้าไปแทนที่ในลักษณะซูโดมอร์ฟในแร่โครซิโดไลต์ ซึ่งเป็นแร่แอสเบสตอส มีลักษณะเป็นเส้นใยไหม (Silky form) ทำให้แร่ควอรตซ์ที่เข้าไปแทนที่ได้ลักษณะของ เส้นใยไหมด้วยซึ่งทำให้เกิดปรากฏการณ์ตาแมวเป็นคลื่น

14.1.12.ฮอคอาย (Hawk’s eye) หรือ พลอยตาเหยี่ยว เป็นพลอยกึ่งโปร่งแสงถึงทึบแสง มีสีน้ำเงินอมเทา และมีปรากฏการณ์ตาแมวเป็นคลื่น การที่พลอยตาเหยี่ยวมีสี น้ำเงินอมเทาเนื่องจากควอรตซ์เข้าไปแทนที่แร่โครซิโดไลต์ซึ่งเป็นแแอสเบสตอสในลักษณะซูโดมอร์ฟ แต่แทนที่เพียงบางส่วน จึงยังคงมีสีเดิมของแร่โครซิโดไลต์อยู่ และ ได้ลักษณะเส้นใยไหมของแร่โครซิโดไลต์ ซึ่งทำให้เกิดปรากฏการณ์ ตาแมวเป็นคลื่น

14.1.13.อะเวนจูรีน ควอรตซ์ (Aventurine Quartz) มีสีเขียวเข้มทึบหรือน้ำเงิน กึ่งโปร่งแสง มีผงมลทินขนาดใหญ่จนมองเห็นด้วยตาเปล่า แสดงประกายระยิบระยับเมื่อโดนแสง
ดัชนีหักเหของแสง (Refractive Index) = 1.55
ความถ่วงจำเพาะ (Specific gravity) = 2.64-2.69

14.2.กลุ่มที่มีผลึกละเอียด คริปโต คริสตัลไลน์ (Cryptocrystalline)
มีความแข็ง (Hardness) = 6.5-7 โมฮส์ (Mohs)
ส่วนประกอบทางเคมี (Chemical Formula) = SiO2 , Silicon dioxide
ดัชนีหักเหของแสง (Refractive Index) = 1.53-1.55
ความถ่วงจำเพาะ (Specific gravity) = 2.57-2.91
แบ่งเป็น 2 ชนิด ตามลักษณะผลึก
แบ่งเป็นชนิด (Variety) คือ เป็นเม็ด แกรนยุลาร์ (Granular)
และเป็นเส้นใย ไฟบรัซ (Fibrous) ต้องใช้กล้องกำลังขยายสูงจึงจะมอง เห็นได้ ในทางปฏิบัติจึงเรียกรวมๆ กันว่า คาลซีโดนี (chalcedony)

14.2.1.ชนิด แกรนยุลาร์ (Granular varieties) ชนิดผลึกเป็นเม็ด Quartz ขนาดละเอียดเท่าๆกัน มีอัญมณีที่อยู่ในกลุ่มคือ

14.2.1.1.แจสเปอร์ (Jasper) มีสีแดงถึงน้ำตาลอมแดง เนื่องจาก Fe-oxide
14.2.1.2.บลัดสโตน (Bloodstone) หรือ หินเลือดพระลักษณ์ มีสีเขียวแก่และมีจุดแดงๆของแจสเปอร์ (Jasper) ปะปนในเนื้อพื้นที่มีสีเขียวที่เรียกว่า พลาสมา (Plasma) อาจเป็น ไมโครไฟบรัซ (Microfibrous) หรือ ไมโครแกรนยุลาร์ ควอรตซ์ (Microgranular Quartz) มีสีเขียว เกิดจากแร่ แอกทิโนไลต์ (Actinolite)

14.2.2.ชนิดไฟบรัซ (Fibrous varieties) ชนิดผลึกเป็นเส้นใย แบ่งชนิดโดยใช้หลักของ ความใส, สี, การกระจายตัวของสีและปรากฏการณ์ทางแสง มีอัญมณีที่อยู่ในกลุ่มคือ

14.2.2.1.คาร์นีเลียน (Carnelian) มีสีส้มอมเหลือง ถึงแดงอมส้ม แดงอมน้ำตาล
14.2.2.2.คริโซเพรส (Chrysoprase) มีสีเขียวอมเหลือง เกิดจากธาตุ Ni
14.2.2.3.อะเกต (Agate) หรือ โมรา ประกอบด้วยแถบที่มีสีต่างๆ โค้งไม่สม่ำเสมอเป็นชั้นๆ เป็นลอนคลื่น มีลวดลายแปลกตา ความหนาและความพรุนต่างกัน สลับกัน เป็นชั้นๆ เรียงตัวตามรูปแบบของรอยแตกหรือช่องว่างของหิน เป็นสีต่างๆกันหรือสีเดียวกันในโทนต่างๆ อะเกตมีอยู่หลายชนิดเช่น

14.2.2.3.1.แลนด์สเคป อะเกต (Landscape Agate) ลายเป็นคล้ายภาพวิวบนพื้นดินมีสีน้ำตาลบนพื้นขาว14.2.2.3.2.ไฟร์ อะเกต (Fire Agate) มีลายมองเห็นพื้นวงกลมก้นหอยสีส้มทอง
14.2.2.3.3.มอส อะเกต (Moss Agate) มีลายต้นมอสสีน้ำตาลบนพื้นขาว
14.2.2.4.โอนิกซ์ (Onyx) เหมือนอะเกต แต่เป็นแถบสีขนานกัน ไม่โค้ง ถ้ามีสีเหลืองออกน้ำตาลแดงผสมส้ม หรือ สีน้ำตาลเข้ม จะเรียกว่า ซาร์ด (Sard) หรือ ซาร์โดนิกซ์ (Sardonyx)


15.สปิเนล (Spinel)
เป็นพลอยที่มีหลายสี ที่พบบ่อยคือ สีแดง, ชมพู, ส้ม, น้ำเงิน, แดงม่วงและดำ ที่พบยากคือ เหลือง, เขียว, น้ำตาล และไม่มีสี สปิเนลเกิดในหินปูนที่ถูกแปรสภาพแบบสัมผัส ส่วนใหญ่อยู่ในแหล่งลานแร่ บริเวณเดียวกับที่พบ Corundum ที่ราคาดีมีสีแดงคล้าย Ruby มาก
มีความแข็ง (Hardness) = 7.5-8โมฮส์ (Mohs)
ส่วนประกอบทางเคมี (Chemical Formula) = MgAl2O4 , Magnesium Aluminum Oxide
ดัชนีหักเหของแสง (Refractive Index) = 1.71-1.76
ความถ่วงจำเพาะ (Specific gravity) = 3.58-4.06

อัญมณีที่อยู่ในกลุ่มคือ

15.1.บาลัส รูบี้ (Balas Ruby) มีสีแดง
15.2.อัมมานดีน สปิเนล (Almandine Spinel) มีสีม่วงแดง
15.3.รูบิเซลลี (Rubicelle) มีสีส้ม
15.4.แซฟไฟร์ สปิเนล (Sapphire Spinel) และ การ์โน สปิเนล (Ghano Spinel) มีสีน้ำเงิน
15.5.คลอร์ สปิเนล (Chlor Spinel) มีสีเขียว พบยากพอสมควร
15.6. พิงค์ สปิเนล (Pink Spinel) มีสีชมพู


16.สปอดูมีน (Spodumene)

เป็นแร่กลุ่ม pyroxene เช่นเดียวกับ jadeite แต่เป็นชนิดที่มีธาตุ Li สูง มีหลายสี ใส ไม่มีสี สีชมพูถึงม่วงอมน้ำเงิน เขียว เหลือง ฟ้า
มีความแข็ง (Hardness) = 6.5-7 โมฮส์ (Mohs)
ส่วนประกอบทางเคมี (Chemical Formula) = LiAlSi2 O6, Lithium Aluminum Silicate
ดัชนีหักเหของแสง (Refractive Index) = 1.648-1.679
ความถ่วงจำเพาะ (Specific gravity) = 3.1-3.2

อัญมณีที่อยู่ในกลุ่มคือ

16.1. คุนไซต์ (Kunzite) ชนิดใส มีสีชมพู ถึงม่วงอมน้ำเงิน สีเกิดจากธาตุ Mn สีจะซีดจางลงเมื่อโดนแสง จนกลายเป็นใสไม่มีสี
16.2. ฮิดเดไนต์ (Hiddenite) ชนิดใสสีเขียว สีเกิดจากธาตุ Cr ชนิดสีเขียว-เหลือง สีเกิดจากธาตุ Fe


17.โทแพซ (Topaz)

ในสมัยโบราณ ใช้เรียกอัญมณีสีเหลืองทุกชนิด ซึ่งเป็นความเข้าใจผิดกันมานาน ถึงแม้ว่าในปัจจุบันเริ่มเข้าใจกันถูกต้องแล้วว่า ความจริงมีหลายสี โดยสีที่มีราคาและเป็นที่นิยม คือ สีเหลืองทอง สีชมพู สำหรับสีฟ้าที่พบมากในตลาดอัญมณี เกิดจากการฉายรังสี แล้วนำไปหุงด้วยความร้อน สีฟ้าที่เกิดขึ้นมีหลายโทน
เนื่องจากชนิดของรังสีที่ใช้แตกต่างกัน
มีความแข็ง (Hardness) = 8 โมฮส์ (Mohs)
ส่วนประกอบทางเคมี (Chemical Formula) = Al 2 SiO 4 (F, OH) 3, Aluminum silicate fluoride hydroxide
ดัชนีหักเหของแสง (Refractive Index) = 1.606-1.638
ความถ่วงจำเพาะ (Specific gravity) = 3.49-3.57
โทแพซ มีสีเหลือง ส้ม, น้ำตาล, ชมพู, แดง, ม่วงแดง, ฟ้า, เขียวอ่อนและใสไม่มีสี

มีชื่อทางการค้า
17.1.อิมพิเรียล โทแพซ (Imperial Topaz) มีสีส้มอมแดง มีสีสด ราคาแพงที่สุด
17.2.เชอรี่ โทแพซ (Sherry Topaz) มีสีส้มอมน้ำตาล ถึงเหลือง-น้ำตาล
17.3.เยลโล่ โทแพซ (Yellow Topaz) มีสีเหลือง
17.4.พิงค์ โทแพซ (Pink Topaz) มีสีชมพู
17.5.กรีน โทแพซ (Green Topaz) มีสีเขียว
17.6.คัลเลอร์เลซ โทแพซ (Colourless Topaz) ไม่มีสี ขาวใส
17.7.มีซทิค โทแพซ (Mystic Topaz) หลายสี เหลือบประกายเหมือนรุ้ง
17.8.ส่วนโทนสีฟ้า ก็จะมี
ลอนดอน บลู โทแพซ(London Blue Topaz),
ซุปเปอร์ บลู โทแพซ (Super Blue Topaz),
โคบอล บลูโทแพซ (Cobalt Blue Topaz),
แม็กซ์ บลูโทแพซ (Max Blue Topaz),
สกาย บลูโทแพซ (Sky Blue Topaz) ,
สวิซ บลูโทแพซ (Swiss Blue Topaz)


18.ทัวร์มาลีน (Tourmaline)

เป็นอัญมณีที่ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ มีหลากหลายสีที่สุด พบได้ทุกสี หรือแม้แต่มีหลายสีในเม็ดเดียวกัน เป็นตระกูลแร่ (group) ประกอบด้วยแร่ประเภท(species) ต่างๆ หลายประเภท แต่ในทางอัญมณี จัดให้ ทัวร์มาลีน ประเภทต่างๆ เป็นอัญมณีชื่อเดียว คือ Tourmaline เพื่อให้ง่ายในการแยกเป็น
ชนิด (variety) นอกจากนั้นยังใช้ประโยชน์ในทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหลายด้าน เนื่องจากสามารถนำไฟฟ้าได้ดี (piezoelectric)
ส่วนประกอบทางเคมี (Chemical Formula) = (Na, Ca)(Li, Mg, Al)(Al, Fe, Mn)6(BO3)3(Si6O18)(OH)4มีความแข็ง (Hardness) = 7-7.5 โมฮส์ (Mohs)

18.1.ทัวร์มาลีนสามารถจัดตามประเภท (Species) ของอัญมณีที่อยู่ในกลุ่มคือ

18.1.1.เบอร์กีไรต์ (Buergerite)
สี (Color) = น้ำตาลเข้ม ถึง ดำ (Dark brown to Black)
ส่วนประกอบทางเคมี (Chemical Formula) = NaFe3Al6Si6O18(BO3)3O3F, Sodium Iron Aluminum Boro-silicate Oxide Fluoride
ดัชนีหักเหของแสง (Refractive Index) = 1.655-1.735
ความถ่วงจำเพาะ (Specific gravity) = 3.31

18.1.2.ครอมดราไวต์ (Chromdravite)
สี (Color) = ไล่จากดำ ค่อยๆ สว่างไปทางเขียว (Dark emerald-green to greenish-black)
ส่วนประกอบทางเคมี (Chemical Formula) = NaMg3[Cr,Fe+3]6B3Si6O27(OH)3(OH,F) , Sodium Magnesium Chromium Iron Aluminum Boro-silicate Hydroxide Fluoride
ดัชนีหักเหของแสง (Refractive Index) = 1.610-1.735
ความถ่วงจำเพาะ (Specific gravity) = 3.31-3.40

18.1.3.ดราไวต์ (Dravite)
สี (Color) = น้ำตาล ถึง ดำ หรืออาจไม่มีสี (brown to Black or Colorless)
ส่วนประกอบทางเคมี (Chemical Formula) = NaMg3(Al,Fe)6Si6O18(BO3)3(OH)4, complex Sodium Magnesium Iron Boro-Aluminium Silicate
ดัชนีหักเหของแสง (Refractive Index) = 1.610-1.661
ความถ่วงจำเพาะ (Specific gravity) = 2.98-3.20

18.1.4.เอลไบต์ (Elbaite)
สี (Color) = มีหลายสีมาก เช่น เขียว, เหลือง, ฟ้า, แดง, ชมพู, น้ำตาล และไม่มีสี (occur in a wide range of colors and shades including green, yellow, blue, pink to red, colorless and brown)
ส่วนประกอบทางเคมี (Chemical Formula) = Na(Li,Al)3Al6Si6O18(BO3)3 (OH)4, Sodium Lithium Aluminum Boro-Silicate Hydroxide
ดัชนีหักเหของแสง (Refractive Index) = 1.615-1.655
ความถ่วงจำเพาะ (Specific gravity) = 2.90-3.20

18.1.5.เฟอรูไวต์ (Feruvite)
สี (Color) = จากน้ำตาลอ่อนไล่ไปถึงดำ (Dark brownish-black)
ส่วนประกอบทางเคมี (Chemical Formula) = CaFe+23Al6B3Si6O27(OH)3(OH,F) , Calcium Iron Magnesium Aluminum Boro-silicate Hydroxide
ดัชนีหักเหของแสง (Refractive Index) = 1.610-1.735
ความถ่วงจำเพาะ (Specific gravity) = 3.207

18.1.6.ฟอยด์ไทต์(Foitite) เป็นแท่งแร่ มีขนาดเล็กมาก กว้างประมาณ 2 มิลลิเมตร
สี (Color) = ครามดำผสมม่วงอ่อน ไปจนถึงดำอมน้ำเงิน (Dark indigo with purple tints to bluish-black)
ส่วนประกอบทางเคมี (Chemical Formula) = [Fe+22(Al,Fe+3)]Al6B3Si6O27(OH)3(OH,F) , Iron Aluminum Boro-silicate Hydroxide
ดัชนีหักเหของแสง (Refractive Index) = 1.610-1.735
ความถ่วงจำเพาะ (Specific gravity) = 3.17

18.1.7.ลิดดิโคไทต์ (Liddicoatite)
สี (Color) = มีหลายสีมาก เช่น เขียว, เหลือง, ฟ้า, แดง, ชมพู, น้ำตาล และไม่มีสี (occur in a wide range of colors and shades including green, yellow, blue, pink to red, colorless and brown)
ส่วนประกอบทางเคมี (Chemical Formula) = Ca(Li,Al)3Al6B3Si6O27(OH)3(OH,F) , Sodium Lithium Aluminum Boro-silicate Oxide Hydroxidem Fluoride
ดัชนีหักเหของแสง (Refractive Index) = 1.621-1.637
ความถ่วงจำเพาะ (Specific gravity) = 3.02-3.08

18.1.8.โอลีไนต์ (Olenite)
สี (Color) = ชมพูอ่อน (Light pink)
ส่วนประกอบทางเคมี (Chemical Formula) = NaAl3Al6B3Si6O27(OH)3(OH,F) , Sodium Aluminum Boro-silicate Oxide Hydroxide
ดัชนีหักเหของแสง (Refractive Index) = 1.610-1.735
ความถ่วงจำเพาะ (Specific gravity) = 2.96- 3.31

18.1.9.โพวอนไดรท์ (Povondraite)
สี (Color) = น้ำตาลเข้ม ถึง ดำอมน้ำตาล (Dark brown to brownish black)
ส่วนประกอบทางเคมี (Chemical Formula) = NaFe+33Fe+36B3Si6O27(OH)3(OH,F) , Sodium Iron Boro-silicate Hydroxide Oxide
ดัชนีหักเหของแสง (Refractive Index) = 1.610-1.735
ความถ่วงจำเพาะ (Specific gravity) = 3.26

18.1.10.สชอร์ (Schorl)
สี (Color) = ดำ, น้ำเงินเข้ม หรือ น้ำเงินเข้มอมเขียว (black, dark blue or dark blue-green)
ส่วนประกอบทางเคมี (Chemical Formula) = NaFe3(Al,Fe)6Si6O18(BO3)3(OH)4, Sodium Iron Aluminum Boro-silicate Hydroxide
ดัชนีหักเหของแสง (Refractive Index) = 1.625-1.675
ความถ่วงจำเพาะ (Specific gravity) = 3.10-3.25

18.1.11.ยูไวท์ (Uvite)
สี (Color) = ดำ, น้ำตาล หรือ เขียว (black, brown or green)
ส่วนประกอบทางเคมี (Chemical Formula) = Ca(Mg, Fe)3Al5MgSi6O18(BO3)3(OH)3, Calcium Iron Magnesium Aluminum Boro-silicate Hydroxide
ดัชนีหักเหของแสง (Refractive Index) = 1.612-1.638
ความถ่วงจำเพาะ (Specific gravity) = 3.1-3.2

18.2.ทัวร์มาลีนสามารถแยกตามชนิด (Variety) ของสีอัญมณี ซึ่งเรียกตามชื่อการค้าดังนี้

18.2.1.อะครอยต์ (Achroite) ใสไม่มีสี
18.2.2.ไบคัลเลอร์ (BiColoured) มีสองสี เช่น แดงไปถึงเหลือง
18.2.3.ครอม (Chrome) มีสีเขียวสด
18.2.4.แคทส์อาย ทัวร์มาลีน (Cat’s Eye Tourmaline) มีสาแหรกหรือขายาว
18.2.5.ดราไวต์ (Dravite) มีสีส้มอมน้ำตาล
18.2.6.อินดิโคไลต์ (Indicolite) มีสีฟ้าอ่อน-เข้ม
18.2.7.พาไรบา (Paraiba) มีสีเขียวอมน้ำเงิน
18.2.8.พารติคัลเลอร์ (Particoloured) มีหลายสีในเม็ดเดียวกัน เช่น ไล่จากโทนเขียวไปแดง
18.2.9.รูเบลไลต์ (Rubellite) หรือ พิงค์ ทัวร์มาลีน (Pink Tourmaline) มีสีแดงอมชมพูอ่อน-เข้ม
18.2.10.เวอร์ดิไลต์ (Verdelite) มีสีเขียวปนเหลือง
18.2.11.วอเทอร์เมลอน (Watermelon) สีคล้ายแตงโมผ่าครึ่ง แดงตรงกลาง รอบๆ สีเขียว


19.เทอร์ควอยส์ (Turquoise)

เป็นอัญมณีที่มนุษย์ใช้เป็นเครื่องประดับมานานมาก ตั้งแต่สมัยอียิปต์ ความสวยงามของเทอร์ควอยซ์ คือ มีสีฟ้าหรือฟ้าอมเขียวที่มีความ เข้มสูง ฟ้าเกิดจากธาตุ Cu ส่วนสีเขียวเกิดจากธาตุ Fe แต่มีข้อเสียคือ สีจะเปลี่ยนไปตามอายุของเทอร์ควอยซ์ โดยจะมีสีเขียวเพิ่มขึ้นเนื่องจากเหล็กในโครงสร้าง ทำปฏิกิริยากับออกซิเจน
มีความแข็ง (Hardness) = 5-6 โมฮส์ (Mohs)
ส่วนประกอบทางเคมี (Chemical Formula) = CuAl6(PO4)4(OH)8*5(H2O), Hydrated Copper Aluminum Phosphate
ดัชนีหักเหของแสง (Refractive Index) = 1.610-1.650
ความถ่วงจำเพาะ (Specific gravity) = 2.6-2.8

สามารถแยกตามชนิด (variety) ได้ดังนี้

19.1.เปอร์เซียนเทอร์ควอยซ์ (Persian Turquoise) เป็นชนิดที่มีคุณภาพที่ดีสุด มี สีฟ้าสด สม่ำเสมอเท่ากันทั้งเม็ด กึ่งโปร่งแสง
19.2.อเมริกันเทอร์ควอยซ์ (American Turquoise) หรือ แมกซิกันเทอร์ควอยซ์ (Mexican Turquoise) เป็นชนิดสีฟ้าอ่อน ฟ้าอมเขียว หรือเขียวอมฟ้า ทึบแสง อาจพบมลทินสีทองของ Pyrite หรือมลทินสีขาวของ Quartz
19.3. สไปเดอร์เว็บ เทอร์ควอยซ์ (Spiderweb Turquoise) เป็นชนิดที่มีสายแร่สีน้ำตาลหรือสีดำพาดไปมาเหมือนใยแมงมุม


20.เซอร์คอน (Zircon)

หรือ เพทาย ที่เกิดตามธรรมชาติส่วนใหญ่มีสีส้ม น้ำตาล หรือแดงอมน้ำตาล ไม่นิยมนำมาทำเป็นอัญมณี ต้องนำไปหุงด้วยความร้อนเพื่อเปลี่ยนสี เป็นสีฟ้า เหลือง หรือขาวใส เป็นอัญมณีที่มีประกายแวววาวคล้ายเพชร ชนิดสีขาวจึงใช้เป็นเพชรเลียนแบบ ชนิดที่มีสีเขียวตามธรรมชาติพบที่ศรีลังกา (Sri Lanka)
อัญมณีที่มีสีเหมือนเซอร์คอนคือ คริโซเบริล, คอรันดัม, สปิเนล, โทแพซ และ เบริล สามารถแยกจากอัญมณีเหล่านี้ได้โดยเซอร์คอนมีประกายแวววาวดีกว่า มีค่าดัชนีหักเหและค่าความถ่วงจำเพาะที่สูงมาก
มีความแข็ง (Hardness) = 7.5 โมฮส์ (Mohs)
ส่วนประกอบทางเคมี (Chemical Formula) = ZrSiO4, Zirconium Silicate
ดัชนีหักเหของแสง (Refractive Index) = 1.920 – 2.015
ความถ่วงจำเพาะ (Specific gravity) = 4.6-4.7

เซอร์คอนเป็นแร่ที่มี 3 ชนิด ตามลักษณะของโครงสร้างคือ

•High Type เป็นชนิดผลึก
•Low Type เป็น Metamict หรือ Amorphous
•Intermediate Type มีการตกผลึกบางส่วน

อัญมณีที่อยู่ในกลุ่มคือ

20.1.จาร์กูน (Jargoon) ใสไม่มีสีหรือมีสีเหลืองควันไฟ จัดว่าเป็นชนิดที่พบยากในธรรมชาติ
20.2.มัททุระ ไดมันด (Matura Diamond) ไม่มีสี ขาวมีประกาย ไม่ใช่เพชรแต่เหมือนเพชร
20.3.ไฮยาซินท์ (Hyacinth) มีสีน้ำตาลและส้มแดง พบง่ายมีปริมาณมาก นิยมนำมาหุงด้วยความร้อน เพื่อเปลี่ยนสีเป็นสีต่างๆ ทำให้ราคาดีขึ้น

มีตัวอย่างชื่อทางการค้าดังนี้

20.3.1.กรีน เซอร์คอน (Green Zircon) หรือ เพทายเขียว มีสีเขียว
20.3.2.บลู เซอร์คอน (Blue Zircon) หรือ เพทายฟ้า มีสีฟ้าใส
20.3.3.ไวท์ เซอร์คอน (White Zircon) หรือ เพทายขาว มีสีขาวใส
20.3.4.เยลโล่ เซอร์คอน (Yellow Zircon) หรือ เพทายเหลือง มีสีเหลือง
20.3.5.ออเรนจ์ เซอร์คอน (Orange Zircon) หรือ เพทายส้ม มีสีส้ม
20.3.6.เรด เซอร์คอน (Red Zircon) หรือ เพทายแดง มีสีแดง
20.3.7.โรส เซอร์คอน (Rose Zircon) หรือ เพทายชมพู มีสีชมพู


21.ซอยไซต์ (Zoisite)

เป็นแร่ที่มีหลายชนิด ที่จัดเป็นอัญมณี มีสีคล้ายไพลิน โดยสีเกิดจากธาตุ V เป็นอัญมณีที่แสดงสีแฝด (pleochroism) เด่นชัด เกิดในหินแปร โดย แทนซาไนต์ (Tanzanite) พบในหินที่แปรสภาพมาจากหินปูนบริเวณที่แทรกสลับกับหิน Schist
มีความแข็ง (Hardness) = 6.5-7 โมฮส์ (Mohs)
ส่วนประกอบทางเคมี (Chemical Formula) = Ca2Al3O(SiO4)(Si2O7)(OH), Calcium Aluminum Silicate Hydroxide
ดัชนีหักเหของแสง (Refractive Index) = 1.696-1.718
ความถ่วงจำเพาะ (Specific gravity) = 3.3

อัญมณีที่อยู่ในกลุ่มคือ

21.1.แทนซาไนต์ (Tanzanite) มีสีน้ำเงินอมเขียว อมน้ำตาล โดยสีเปลี่ยนตามทิศทางผลึก Tanzanite มีลักษณะคล้ายกับไพลิน (Blue sapphire) มาก แต่แสดงสีแฝดที่เด่นชัดกว่า มีค่าดัชนีหักเห และ ความถ่วงจำเพาะที่ต่ำกว่า อัญมณีที่มีสีเหมือน Tanzanite อีกชนิด คือ Iolite แสดงสีแฝดเด่นชัดเช่นกัน แต่แยกได้โดยมีค่าดัชนี หักเห และ ความถ่วงจำเพาะต่ำกว่า Tanzanite

21.2.กรีน ซอยไซต์ (Green Zoisite) ส่วนใหญ่เป็นผลึกขนาดเล็กเกิดอยู่ร่วมกับแร่ amphibole สีเขียว ในหิน zoisite-amphibolite อาจมีผลึกทับทิม สีแดงขนาด ใหญ่เกิดร่วมอยู่ด้วย เรียกว่า ruby in zoisite21.3.ทูลไลต์ (Thullite) มีสีแดง-ชมพู เกิดจากธาตุ Mn ผลึกมีขนาดเล็กอยู่รวมกัน

ขอขอบคุณ ทุกข้อมูลจาก
1.อ.สุรินทร์ อินทะยศ
2.อ.อารีรัตน์ คอนดวงแก้ว
3.http://webmineral.com/
4.http://www.mindat.org/
5.http://www.cst.cmich.edu/users/dietr1rv/Default.htm/
6.http://mineral.galleries.com/
7.http://pubs.usgs.gov/gip/gemstones/
8.http://www.mineralminers.com/index.htm/
9.http://www.gemhut.com/
10.ชมรมอัญมณี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
11.วิชาปฏิบัติการวิเคราะห์อัญมณี คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

อัญมณีที่เห็นอยู่ในมือมนุษย์นั้น ผ่านกระบวนการนำขึ้นมาจากใต้พื้นผิวโลกด้วยความยากลำบากยิ่ง บางชนิดต้องละลายดินหรือหินหลายร้อยหลายพันตัน กินพื้นที่หลายสิบหลายร้อยตารางกิโลเมตร เมื่อนำขึ้นมาได้แล้ว ยังต้องใช้ฝีมือในการตัดแต่งเจียรนัย กว่าจะได้อัญมณีน้ำงามเพียงแค่ 1 กะรัต ซึ่งอัญมณีแต่ละชิ้น จะมีลักษณะเฉพาะตัว ไม่เหมือนกัน (เหมือนลายนิ้วมือของคนแต่ละคน)

อัญมณีแท้ นับวันยิ่งหาได้ยากยิ่ง ผู้ทำเหมืองอัญมณีก็ค่อยๆ ลดน้อยลงไป เพราะเห็นว่าไม่คุ้มค่ากับความเสี่ยงในชีวิต ทุนทรัพย์และเวลาที่ต้องเสียไป จึงส่งผลให้ มีอัญมณีสังเคราะห์ ที่สร้างขึ้นมาได้ง่ายกว่า ก็เริ่มเข้ามาในตลาดมากขึ้นเรื่อยๆ

โดยปรกติ อัญมณีธรรมชาติแต่ละชนิด จะมีพลังที่ให้ผลต่อมนุษย์ไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับธาตุที่อยู่ภายในอัญมณีนั้นๆหรือความเชื่อของแต่ละพื้นที่
อัญมณีแท้บางชนิด หาซื้อได้ยากยิ่งกว่าโลหะมีค่า เช่นทองคำ เสียอีก จนมีคนกล่าวไว้ว่า “อัญมณีแท้ชิ้นนี้ ถึงมีเงินมากมายก็ไม่สามารถซื้อได้ ซึ่งต่างกับทองคำ"

ไม่มีความคิดเห็น:

เทคโนโลยี

ดาวน์โหลดโปรแกรมมาใหม่ล่าสุด |

อัพโหลดไฟล์

วาไรตี้

ข่าวประจำวัน

Movie

สารบัญเว็บไทย

Thailand Map